วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

ว่าด้วยเรื่องภาษาซี

จัดเป็นภาษาระดับกลางที่ มีความยืดหยุ่นสูงมากเมื่อเทียบกับภาษาอื่นๆ ภาษาซีพัฒนาโดยเดนนิส ริสชี่ (Dennis Ritchie) เมื่อประมาณต้นปีค.ศ. 1970 เพื่อใช้งานบนระบบปฏิบัติการยูนิกส์ ต่อมาถูกนำไปใช้ในระบบปฏิบัติการต่าง ๆ จนถูกใช้เป็นภาษาพื้นฐานสำหรับภาษาอื่น เช่น ภาษาจาวา (Java) ภาษาพีเอชพี (PHP) ภาษาซีชาร์ป (C#) ภาษาซีพลัสพลัส (C++) ภาษาเพิร์ล (Perl) ภาษาไพทอล (Python) หรือภาษารูบี้ (Ruby)

และก็เป็นภาษาที่มีรูปแบบที่ ผมชื่นชอบมากที่สุด คือเขียนแบบมี ปีกกา ซึ่งจะแตกต่างจากภาษา Basic เพราะมันต้องเขียนเป็นประโยค แต่ก็แล้วแต่ความถนัดของแต่ล่ะบุคคลด้วย โดยรูปแบบของภาษาจะเป็นดังต่อไปนี้

#include ;

void main()
{
printf("hello c");
}

เดี๋ยวเราค่อยมาว่ากันว่าสิ่งที่เขียนด้านบนนั้นมันมีความหมายว่าอย่างไรกัน ส่วนตอนนี้เอาเป็นว่า ภาษาซีพัฒนามาโดยใช้พื้นฐานของคำว่า unix ซึ่งแน่นอนไม่ใช้ ภาษาขี้ๆแน่ๆ โปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่ที่พัฒนาระบบที่ซับซ้อนมากๆก็จะใช้ภาษานี้ในการเขียนเช่น driver หรือระบบที่มีการเข้าถึง hardware แบบเร็วมากๆ หรือโคตรๆเร็ว มักจะใช้ภาษานี้ในการพัฒนาระบบ แต่ยังไงก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยนี้ก็เรียกได้ว่าพัฒนาไปไกลมากๆ จนหาความแตกต่างด้านความเร็วของภาษา ต่างๆแทบดูไม่ออกเลย แต่ถ้าเอาไปรันกับเครื่องเก่าๆจะเห็นผลได้ชัดเจนมากๆ ส่วนบทความหน้าจะมาเข้าเรื่องเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมที่น่าสนใจ พร้อมเทคนิคอันเหลือเชือของการใช้ลูกเล่นของการ coding ในการเขียนที่ไม่ตายตัวของภาษาเขียนโปรแกรมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น